ปลุกสมองซีกขวา

บทความนี้นำมาจาก manageronline นะครับ

ใช้สมองแบบไหนจะสร้างสุขได้ยั่งยืนมากกว่ากันระหว่าง คนเจ้าเล่ห์ กับ คนมีปัญญา

ก่อนจะเข้าเรื่อง ผมมีเรื่องขำขันเรื่องหนึ่งจะเล่าสู่กันฟังครับ
เป็นเรื่องของคุณป้าท่านหนึ่งที่ทำกระเป๋าสตางค์หายและมีเด็กน้อยเก็บได้นำมาส่งคืน
นี่คือบทสนทนาระหว่างคุณป้าและเด็กน้อยหลังจากคืนกระเป๋ากันเรียบร้อยแล้วครับ

คุณป้า : ขอบใจมากจ้ะหนูที่เก็บกระเป๋าสตางค์ส่งคืนให้ป้าน่ะ
เอ..แต่ทำไมมีแบงค์ร้อย 10 ใบล่ะจำได้ว่ามีแบงค์พันใบเดียวนี่นา?

เด็กฉลาด : อะเอ้ออ..ผมแลกเองแหละฮับ ครั้งก่อนก็เก็บได้แบบนี้เหมือนกัน
เจ้าของไม่มีแบงค์ย่อย…ผมเลยอด…แบบว่าประสบการณ์สอนนะฮะ

ท่านผู้อ่านครับ…เด็กคนนี้ฉลาดได้โดนใจจริงๆ นะครับ อย่างนี้ทางด้านการพัฒนาสมอง
(Brain development) เรียกว่า เป็นคนที่ถนัดใช้สมองซีกขวา
(สมองซีกขวาจะมองว่าข้อผิดพลาดมีไว้เพื่อเรียนรู้ ไม่ใช่เพื่อตำหนิ)

ครั้งหนึ่งผมบรรยายเกี่ยวกับ “สมองกับการพัฒนาการ 5 มิติ (Child development)”
ให้กับบุคลากรครูผู้ดูแลเด็ก ที่ได้รางวัลครูดีเด่นของกระทรวงมหาดไทย ผมเสนอว่า
การเล่นคือกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งถ้าเด็กได้รับกระตุ้นสมองทั้ง 2 ซีกผ่านการเล่นอย่างเหมาะสม
ก็จะช่วยทำให้เกิดพัฒนาการได้ครบถ้วน 5 มิติ ได้แก่ ร่างกาย, สติปัญญา, อารมณ์, สังคม และจิตวิญญาณ
(หมายถึงการมีจิตอาสา รักผู้อื่นเหมือนรักตนเอง เป็นพัฒนาการมิติใหม่ที่เพิ่มเข้ามาจากเดิมมีแค่ 4 มิติ)

ผมนำเสนอให้พัฒนาลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพราะ เมื่อแม่ตั้งครรภ์ได้ 18 สัปดาห์
สมองของลูกก็สามารถพัฒนาได้แล้ว และสำหรับด้านอารมณ์
หากตอนตั้งครรภ์แม่มีอารมณ์ดี ไม่เครียด ฝึกผ่อนคลาย มีการฟังเพลงไพเราะ เพลงบรรเลง
จะช่วยให้เด็กออกมาแล้วเลี้ยงง่าย ไม่ขี้หงุดหงิด พัฒนาการเร็ว

เพื่อพัฒนาสมองได้ครบทั้ง 2 ซีก ผมขอเสนอทักษะง่ายๆ ในการกระตุ้นสมองซึกขวาในชีวิตประจำวัน
ลองฝึกดูนะครับ ใช้ได้กับทุกคนในครอบครัวครับ

20130414-195812.jpg

 

ทักษะปลุกสมองซีกขวา (Enhancing Rt brain)

เป็นการฝึกฝนลงมือทำสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของสมองซึกขวาซึ่งคล้ายศิลปิน
อันได้แก่ การจินตนาการ, ดนตรี, การคิดเป็นภาพ, การมองเชื่อมโยงเห็นภาพรวม, คิดริเริ่ม
มีความแตกต่างหลากหลาย, คำนึงถึงอารมณ์ สัญชาติญาณ เป็นต้น ขอยกตัวอย่างบางประการ ดังนี้…

1.หมั่นระดมความคิด
2.ฝึกนึกภาพที่ผิดธรรมดาในจินตนาการ
3.เขียนวาดความคิดออกมาเป็นภาพ สัญลักษณ์
4.สนใจกับเสียงภายใน หรือสัญชาตญาณมากขึ้น
5.ตระหนักรู้อารมณ์ด้านบวกและลบ
6.หัดยอมรับและผ่อนคลายในสภาวะที่คลุมเครือขัดแย้ง
7.เขียนบทกลอน หรือร้องเพลงที่ทำให้เห็นเป็นภาพมากๆ
8.เล่าเรื่องเร้าอารมณ์ มีอุปมาอุปมัยบ่อยๆ
9.พูดและแสดงออกเป็นบทบาทสมมติเพื่อให้เข้าใจภาพรวม

“การที่สมองแตกต่าง ก็เพื่อเติมเต็มให้กัน” ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องขัดแย้งกันก็ได้ จริงมั้ย?

 

 

ข้อมูลอ้างอิง
ขำขัน.com เรื่องขำขันสุดฮา. (2012). เด็กยุคใหม่. Retrieved 5 Apr 2013. from http://kamkan.eastasiaworld.com/page3.htm
James 3:17.Biblica. Retrieved Feb 24,2012. From http://www.biblica.com/bible/browse-books/
————

บทความโดย
ดร. นพ. ยุทธนา ภาระนันท์ MD., FP., Ed.D.
yparanan@gmail.com
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและเวชศาสตร์ครอบครัว

 

แม้ไม่ได้หาฤกษ์คลอด ไม่ได้ตรวจสอบดวงชะตา เชื่อสิครับว่าสิ่งที่สำคัญกว่า
คือการเลี้ยงดู การอบรมสั่งสอน การเป็นตัวอย่างที่ดี การให้เวลากับเด็กๆ
เราทุกคนสามารถปรับสัดส่วนปัจจัยความสำเร็จให้ส่วนของคนที่เรากำหนดได้
ให้มีสัดส่วนในความสำเร็จของตัวเองมากที่สุด เท่าที่จะทำได้เลยครับ

READ  อาชีพที่เรียกว่าแม่