เมื่อลูกเข้าสู่วัยต่อต้าน

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจเคยพบเจอปัญหาแบบนี้ อยู่ดีๆลูกที่เคยน่ารักว่านอนสอนง่าย กลายเป็นเด็กเกเร ดื้อ ต่อต้านทุกสิ่งอย่าง มีความคิดของตนเอง ช่างเลือก และเรื่องมาก คุณหมอมิชิโอะ มัตสุดะ ผู้แต่งหนังสือสารานุกรมการเลี้ยงดูเด็ก ตำราการเลี้ยงดูเด็กที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ท่านได้กล่าวเอาไว้ดังนี้ครับ

เมื่อเด็กอายุใกล้จะสามขวบ ผู้ใหญ่มักคิดว่าเด็กเริ่มเข้าสู่ “วัยต่อต้าน” แต่ความจริงเรื่องนี้เป็นความเข้าใจผิดของผู้ใหญ่เอง ผู้ใหญ่ที่เลี้ยงเด็กโดยกักให้อยู่แต่ในบ้าน ไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นด้วยความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง นั่นแหล่ะควรจะเรียกว่า “ผู้ต่อต้านเด็ก” ครูพี่เลี้ยงเด็กในสถานเลี้ยงเด็กซึ่งเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นกับเพื่อนอย่างอิสระเหมาะสมกับวัย จะเข้าใจว่าวัย ขวบนี้เป็นวัยที่เด็กเริ่มรู้จักเล่นกับเพื่อนๆด้วยความปรองดองและควรเรียกเด็กวัยนี้ว่า “วัยร่วมมือ” ไม่ใช่ “วัยต่อต้าน”

เด็กที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นเด็กซนและดื้อนั้น ถ้าพิจารณาให้ดีจะเข้าใจว่าเขาทำสิ่งเหล่านั้นลงไปเพราะต้องการทดสอบความสามารถของตนเองด้วยความคิดสร้างสรรค์ เมื่อเห็นแม่นั่งซักผ้า แกจะไปเอาผงซักฟอกมาใส่น้ำกวนดูบ้าง เมื่อแม่เห็นเข้าก็รีบแย่งกล่องผงซักฟอกคืน ลูกจึงร้องไห้ลั่นเพราะอยากได้ แต่แม่ให้ไม่ได้เพราะผงซักฟอกไม่ใช่ของเล่น ถ้าให้เล่นจะเกิดติดเป็นนิสัยและเป็นการสิ้นเปลืองด้วย เมื่อเด็กดื้นดึงดันจะเอาให้ได้ แม่ก็นึกว่าลูกถึง “วัยต่อต้าน” แล้ว แต่ถ้าเราคิดในแง่ของเด็กบ้างจะเห็นว่าการเอาผลซักฟอกกวนในน้ำและทำให้เกิดฟองขึ้นมานั่นน่าสนุกจะตาย หนู่ไม่เคยมีของเล่นสนุกอย่างนี้เลยเพิ่งจะค้นพบวันนี้เอง แต่ถูกแม่แย่งไปเสียแล้ว

วันนี้พ่อเป็นช่างไม้ น่าสนุกจริงๆ พ่อเอากบไสไม้มีขี้กบออกมาเป็นม้วน และเมื่อหนูเห็นเลื่อยวางอยู่ใกล้ๆ เจ้าหนูก็เอาเลื่อยไปเลี้ยงเสาบ้านดูบ้าง เสาบ้านแข็งๆที่หนูเคยเอาหัวชนบ่อยๆ แต่ไม่สะเทือนนั้น พอเอาเลื่อยถูไปถูมากลับแหว่งได้แฮะ ยิ่งถูยิ่งสนุก แต่พอพ่อหันมาเห็นเข้าเจ้าหนูก็โดนตวาดลั่นและถูกยึดเลื่อยกลับคืนไป ไม่มีอะไรน่าโมโหยิ่งกว่านี้อีกแล้ว เจ้าหนูจึงร้องจนดิ้นพราดเพราะอยากได้เลื่อยคืน

ถ้ามองในสายตาของผู้ใหญ่ การกระทำของพ่อแม่คือการฉุดรั่งไม่ให้ลูกทำผิด แต่เด็กกลับดื้อดึงดันต่อต้านพ่อแม่ อย่างไรก็ตาม โปรดคิดให้ดีว่าเด็กวัย 3 ขวบนี้มีความคิดที่จะจงใจทำผิดละหรือ

หากเราพาเด็กไปอยู่ในสนามหญ้ากว้างใหญ่ และให้รถสามล้อเล็กแกเล่นอย่างอิสระ เด็กจะทำผิดหรือไม่
หากเราให้สบู่มีฟองกับตุ๊กตาและเอาน้ำใส่กะละมังให้เด็กเล่น แกจะไปเอาผงซักฟอกมาเล่นหรือไม่
หากเราเอาเด็กๆมาเข้าแถวเรียงกัน ให้เลื่อยคนละอัน และให้เศษไม้สำหรับเลื่อยแข่งกัน เด็กจะเลื่อยเสาบ้านเล่นหรือไม่ ทำไมผู้ใหญ่อย่างเราไม่หาสถานที่กว้างขวาง และปลอดภัยให้เด็กเล่น ไม่หาของแปลกใหม่ให้แกเล่น แล้วมาดุเด็กทำไม

การที่เด็กเกิดปะทะกับผู้ใหญ่ในบ้านก็เพราะแกไม่มีที่เล่น และของเล่นเพียงพอนั่นเอง ผู้ใหญ่เห็นเด็กร้องไห้ดื้อดึง จึงหาว่าเด็กถึง “วัยต่อต้าน” โดยไม่คำนึงถึงสาเหตุ มองแต่เฉพาะปรากฏการณ์ขั้นสุดท้ายที่เด็กแสดงออกมาและพยายามแก้ที่ปลายเหตุ เอาขนมมาล่อบ้างอะไรบ้าง บางคนถึงกับตีเด็กเป็นการลงโทษ ในเมื่อผู้ใหญ่ซึ่งมิได้หาที่เล่นและของเล่นให้เด็กอย่างเพียงพอยังไม่ถูกลงโทษ หากเราลงโทษเด็กที่เกิดอาการต่อต้านเมื่อถูกแย่งของเล่นซึ่งแกอุตส่าห์ค้นพบด้วยตนเองนั้นจะถูกหรือ

เมื่อเด็กเริ่มพูดเป็นเขาจะเริ่มเถียง เป็นการโต้ตอบ เป็นการแสดงความเป็นตัวของต้วเอง ดังนั้นก่อนที่แม่จะดุลูกว่าอย่าเถียงผู้ใหญ่ ควรคิดเสียก่อนว่าสิ่งที่เด็กเรียงร้องนั้นเป็นความต้องการทางสรีระเหรือเปล่า เพราะถ้าเป็นความต้องการตาทธรรมชาติ เช่นอยากออกกำลังกาย ก็ยากที่จะห้ามได้ คุณแม่มาคิดหาทางตอบสนองในทางที่เหมาะสมจะเป็นวิธีที่ดีกว่าครับ

IMG_2059.JPG

READ  คาถา 123 ปราบเจ้าตัวน้อย