เรียนโรงเรียนอินเตอร์ดีไหม2

บทความต่อเนื่องเกี่ยวกับการเรียนอินเตอร์ต่อนะครับจากอาจารย์สมเกียรติ โอสถสภา บทความเรียนโรงเรียนอินเตอร์ดีไหม คงทำให้เห็นภาพว่าการเรียนนานาชาติมีภาพกว้างๆ แบบไหน บทความนี้จะเจาะลึกลงไปครับ แล้วคุณพ่อคุณแม่อาจจะตัดสินใจง่ายขึ้นว่าสุดท้ายแล้วโรงเรียนนานาชาติ คือคำตอบของลูกคุณหรือไม่ครับ

โรงเรียนนานาชาติ

ควรเรียนโรงเรียนอินเตอร์ไหม

ความสุขในวัยเด็ก

เหมาะอย่างยิ่งกับคนที่ไม่ต้องการแข่งขันเข้าเรียนโรงเรียนดัง เสียแป๊ะเจี๊ยะ ห้องเรียนห้องละ50 คน ได้ทำกิจกรรมดนตรี กีฬา งานศิลป ได้เลือกเรียนวิชาตามถนัด ไม่ต้องเรียนอะไรมากมายที่ไม่จำเป็นต้องใช้ ค้นพบตัวเอง ได้เรียนในระบบที่รู้รอบ ใช้งานได้จริง คิดเป็น วิเคราะห์เป็น มั่นใจ กล้าแสดงออก ไม่ท่อง ไม่ต้องเรียนทั้งวัน ทั้งคืน ค่าเรียนพิเศษตั้งแต่เด็กน่าจะเป็นล้าน ไม่ต้องกลัวผิดหวังในการเข้ามหาวิทยาลัย มีแต่ดี หรือดีมากเท่านั้น มีเพื่อนในวงการชั้นดีเทียวแหละ คนหลายๆอาชีพไม่มีเวลาให้ลูก เช่น นักธุรกิจที่ต้องเดินทางบ่อย แพทย์ที่หาเวลานอนไม่ค่อยได้ โรงเรียนประจำที่ดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดอบอุ่นคือคำตอบ

เรียนต่อ

ประหยัดเวลากว่าหลักสูตรไทยในการเรียนต่อ ตรีนอกหนื่งถืงสองปี ต่อออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษใช้เวลาเพียงสามปี มีสิทธิเลือกมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกได้จะเรียนต่อตรีจบแน่นอน ชิงทุนได้ง่าย เข้ากับสังคมต่างชาติได้เร็ว

อาชีพ

ถ้าครอบครัวมีทรัพย์สิน เงินมาก เป็น โมเดล wealth management เหมาะมาก ธุรกิจส่วนตัวที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ งานบริษัทใหญ่ที่เชื่อมต่อกับต่างประเทศ การทำงานในต่างประเทศ 30% ของบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยไทย ทำธุรกิจส่วนตัวทันที

การเงิน

ดังที่เตือนในบทความแรก ค่าเล่าเรียนเฉลี่ยปีละห้าแสน เพิ่มปีละสิบเปอร์เซนต์ หกปีเท่าตัว ค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยก็เพิ่มในอัตรานี้ แต่ถ้ามีการบริหารทุนที่ดี ไม่มีปัญหา ประเด็นนี้สำคัญมาก ค่าเรียนตรีต่างประเทศปีละล้านห้าถึงสองล้าน ถ้าเรียนที่จุฬาเฉลี่ยปีละ สองแสนถึงห้าแสนแล้วแต่หลักสูตร ดูโรงเรียนให้ดีครับ โรงเรียนเปิดใหม่ต้องระวัง คุณภาพโรงเรียนไม่เท่ากัน อย่าทุ่มเงินให้การศืกษาลูกจนไม่มีเงินเก็บของตนเองยามแก่ คุณต้องอยู่จนอายุร้อยปี อย่าลืมว่าเมื่อเรียนจบเขาต้องการทุนจากคุณอีกก้อนหนื่ง และอย่าสร้างหนี้เพื่อการนี้ครั

ทรัพย์สินเช่นที่ดินมีค่าเพิ่มตลอด เงินต่อเงิน แต่การศืกษาบางสาขารายได้น้อย คนเก็บที่ดินไว้ที่เกาะสมุยรวยกว่าคนขายที่ดินเรียนกรุงเทพ ความต้องการของลูกคุณวัยเด็กก็แบบหนื่ง แต่เมื่อเขาเรียนจบเขาต้องการเงิน คุณจะคิดเฉพาะสิบกว่าปีข้างหน้า หรือคิดยาวจนถืงวันที่คุณมีหลาน และคุณเจ็บป่วย อยู่ในสังคมนี้สอนให้เด็กแกร่ง อดทน สร้างตัวเองดีที่สุด

คนในโลกมีสี่แบบ รวยแล้วรวยขื้น. รวยแล้วจน จนแล้วรวยขื้น และกลุ่มที่จนเท่าเดิม อยู่ในสังคมหรู โตขื้นรายจ่ายสูง มักจะไม่แข็งแกร่งเหมือนรุ่นพ่อแม่ อากง เมื่อใดจนลง จะปรับตัวลำบาก และขมขื่นมาก คนในโลกที่ผมเห็นมาเป็นเช่นนั้น สอนให้เด็กรู้ค่าของเงิน สำคัญมาก

ต้องเตือนด้วยความเกรงใจอย่างแรง ผู้หญิงมักจะตัดสินใจโดยตามเพื่อน ศักดิ์ศรี หน้าตา เอาไว้คุยอวดกัน หลายคนตัดสินใจเพื่อชดเชยสิ่งที่ตนเคยฝัน หรือรู้สืกแย่ที่ภาษาไม่ดี เรื่องนี้คิดนานๆนะครับ อย่าใช้การตัดสินใจแบบซื้อกระเป๋า รองเท้ามาโชว์กันเป็นอันขาด เป็นตัวของตัวเอง ทำสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเองครับ เลือกเส้นทางให้ดี

เลือกเรียนโรงเรียนไหนดีล่ะ

เจาะลึก โรงเรียนอินเตอร์ วันนี้นักเรียนไทย 25000 คน เรียนโรงเรียนอินเตอร์ในประเทศ  โรงเรียนอินเตอร์จำนวนมากตั้งมาน้อยกว่า 20 ปี จืงยังไม่สามารถประเมินคุณภาพจากผลการสอบ IB ปีสุดท้ายได้ ไม่มีผลการเรียนต่อมาแสดงแบบ ISB ไม่บอกวิชาที่เปิดสอนด้วย เข้าไปดูหน้าวอลล์ของหลายโรงเรียนไม่มีข้อมูลพวกนี้ กว่าจะรู้ผลว่าดีไม่ดีก็อีกสิบกว่าปีโน่น

การประเมินคุณภาพโรงเรียนอินเตอร์ ถ้าพูดอย่างไม่มีอุดมคติ ปรัชญาลึกซื้งอะไร การส่งลูกเข้าเรียนคือจะเอาลูกเข้ามหาวิทยาลัย จึงต้องดูคุณภาพโรงเรียน วิธีประเมินคุณภาพโรงเรียนดูได้จากเรื่องต่อไปนี้

หนึ่ง นักเรียนลาออกมากไหม ด้วยสาเหตุอะไร ถ้าเป็นนักเรียนต่างชาติย้ายตามพ่อแม่ เอาเกรดไปเข้าโรงเรียนอินเตอร์ประเทศอื่นได้ แต่ต้องคะแนนดีนะครับ คะแนนห่วย คุณภาพไม่ดีเขาก็ไม่รับ เหมือนกับโรงเรียนไทยนั้นแหละ แต่ของเราจะย้ายไปไหน

สอง ดูคะแนนผลการทดสอบของนักเรียนในชั้นปีต่างๆย้อนหลัง เทียบกับคะแนนของโรงเรียนอินเตอร์อื่นๆ หรือเทียบกับคะแนนของ ISB ก็ได้ เอาที่นี่เป็นหลัก

สาม ศึกษาวิชาที่เปิดสอน เรื่องนี้สำคัญที่สุดนะครับ ย้ำสำคัญที่สุด 3 times พวกฝรั่งรู้กันดี โรงเรียนมัธยมในต่างประเทศจัดแบ่งเกรดกันโดยหลักการนี้

โรงเรียนที่ดีจะต้องเปิดสอนวิชา hard subjects วิชายากให้ครบถ้วนที่สุด วิชายากชั้น มปลายที่จะเข้ามหาวิทยาลัยคือ แคลคูลัสและสถิติ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา บัญชี เศรษฐศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ยิ่งเรียนระดับสูงขื้นไปเท่าใดถือว่าเยี่ยมมาก เช่น คะแนน Aใน วิชา math A Level นี่ยอดมาก วิชาประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ของเขายากส์ ภูมิศาสตร์คนละแบบกับบ้านเรา

ถ้าคุณจะเข้ามหาวิทยาลัยดังๆของโลก เขาจะดูวิชาที่คุณลงเรียน มหาวิทยาลัยในอังกฤษ แคนาดา ออส นิวซีแลนด์เขาดูวิชาที่ลงเรียน และคะแนน ถ้าสอบระดับ A Level ได้ A สี่ตัว ห้าตัวเข้าออกซ์ฟอร์ดได้ สามตัวก็ได้ หลักสูตรต่างประเทศเขาให้เด็กได้เลือกตามความสามารถ วิชาไม่มาก แต่ลึกมาก ระดับปี สอง ปีสามของไทย เด็กที่จบมัธยมอยู่ในโลกได้ เช่น เศรษฐศาสตร์ พอมอปลายรู้เรื่องวิเคราะห์ต้นทุน ผลได้ เข้ามหาวิทยาลัยปีหนึ่ง เริ่มด้วย I-O Model เคยเอาข้อสอบ มปลายเค้ามาให้นักเรียนที่จุฬาลองทำดู ของไทยมัธยมเรียนเยอะ หลายวิชา แต่ไม่ลึก

READ  ปลุกสมองซีกขวา

วิชา soft subjects คือ เกษตร อังกฤษสำหรับชาวต่างประเทศ สุขภาพ ดนตรี ละคร พวกนี้ครับ มีหลายวิชา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์บางแบบ design ดูให้ดีว่าหลักสูตรเขามีวิชาอะไรบ้าง โรงเรียนอ่อน สอนวิชาอ่อน เด็กที่เรียนวิชาอ่อนมาก เข้ามหาวิทยาลัยลำบาก สอนวิชายาก อาจารย์ต้องคุณภาพสูง แพง ยิ่งเปิดมาก ต้นทุนยิ่งมาก มัธยมที่NZ อาจารย์มัธยมจบโท เอกกันมาก เครื่องมือเพียบ

วิธีประเมินอีกทางหนื่งคือ ดูคะแนน SAT และให้ลูกคุณลองสอบไอเอลทส์ดู ถ้าก่อนจบ ราว ม5 คะแนน toefl ควรเกิน หกร้อยไปเยอะ

โรงเรียนที่ดีจะมีตำนาน เรื่องเล่าดีๆมากมาย แค่นี้ก็รู้คุณภาพโรงเรียนครับ

ไม่ใช่ว่าเข้าอินเตอร์ได้แล้ว มหาวิทยาลัยจะรับนะครับ อยู่ที่เกรด วิชาที่เรียน ต้องตั้งเป้า ถ้าเรียนแบบง่ายก็จบได้ แต่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยสาขายากๆลำบาก จะเข้า BBA เมืองไทย คะแนน Toefl ต้้อง 600 SAT สูงมาก ที่นั่งมีจำกัด ต้องไปเจอเทพๆของไทย เด็กนอกเยอะแยะ

 

 

ประโยชน์ของโรงเรียนอินเตอร์ (ต่อประเทศไทย)



วันนี้มีโรงเรียนอินเตอร์ในไทย 158 แห่ง ราว 70% หรือน้อยกว่าตั้งอยู่ในกรุงเทพ ตัวเลขล่าสุดคือ 91 แห่ง นักเรียนอินเตอร์มี 50000คน เป็นเด็กไทยครึ่งหนึ่ง มีข่าวการจัดตั้งโรงเรียนอินเตอร์อีกหลายจังหวัด เช่น อุดรธานี และสุราษฏร์ธานี อุดรมีชาวต่างชาติเยอะ สุราษฏร์คิดถึงเกาะสมุยที่มีธุรกิจของชาวต่างประเทศมาก จะเกิดโรงเรียนอินเตอร์ที่จังหวัดใด ขึ้นอยู่กับนักเรียนต่างประเทศเป็นตัวนำ ผู้ปกครองจะส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีนักเรียนต่างประเทศมาก เนื่องจากค่าเทอมแพง ผู้ปกครองฐานะดี จึงเป็นสังคมของคนมีฐานะ

แต่นักธุรกิจประเภทยักษ์ใหญ่ของประเทศยังนิยมส่งลูก หลาน เหลนเข้าโรงเรียนขาประจำ ผู้หญิงเรียนมาแตร์ ผู้ชายเรียนอัสสัม สวนกุหลาบ สามโรงเรียนนี้ออกแนว fighter ธุรกิจใหญ่ๆ เช่นพารากอน เซนทรัล CP เบียร์ยี่ห้อต่างๆ ธุรกิจนำเข้า ส่งออกมีศิษย์เก่ามาแตร์เกี่ยวข้องเยอะ แต่เค้าใจบุญนะ เป็นเด็กคริสท์ โรงเรียนได้เงินก็เอาไปช่วยโรงเรียนในอุปการะ ภาษาเด็กมาแตร์เนี๊ยบ เหมือนๆกับเซนต์โย ราชินี ห้องศิลปโรงเรียนเตรียม ลูกศิษย์เยอะ ความรู้กว้างขวาง 55

 

โรงเรียนอินเตอร์มีประโยชน์ต่อประเทศไหม

มาก มหาศาล คือ คำตอบ

หนื่ง การที่มีโรงเรียนดีๆให้ลูก เป็นตัวตัดสินใจลับๆที่ทำให้ UN ไม่ย้ายไปอินเดียตามแผน ทำให้ต่างประเทศเลือกเมืองไทยเป็นที่ตั้งธุรกิจ ที่ตั้งการผลิต จังหวัดที่จะดูดทุนต่างชาติเข้า ต้องสร้างโรงเรียนอินเตอร์ดีๆ รัฐบาลต้องสนับสนุนอย่างเต็มที่ โรงเรียนอินเตอร์เป็นตัวดูดการลงทุนที่สำคัญอย่างยิ่ง

สอง โรงเรียนอินเตอร์ช่วยดึงดูดครูดีๆจากโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงของอเมริกา อังกฤษ อินเดีย และญี่ปุ่น มาสร้างระบบการศืกษาที่เป็นสากลให้ประเทศไทย

สาม ค่าจ้างครูอินเตอร์แพงนะครับ แสนกว่า สองแสนขื้น สร้างงานรายได้ดีให้ครูไทย เจ้าหน้าที่ไทยที่เรียนดนตรี กีฬา สอนภาษาไทย นักเรียนนอกทั้งนั้นได้มีงานรายได้สูงทำ ความผูกพันระหว่างโรงเรียนอินเตอร์ทั่วโลก สร้างภาพที่ดีให้การศึกษาอินเตอร์ในไทย

สี่ โรงเรียนอินเตอร์ดีๆแต่ละโรงเรียนส่งเด็กต่างชาติ เด็กไทยเข้าเรียนตรีในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกปีละเป็นร้อย รัฐบาลไม่ต้องออกเงินสักบาท คะแนน PISA สูงกว่าเด็กเกาหลี ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น นี่คือการสร้างคนให้ประเทศโดยรัฐไม่ต้องลงทุน

ห้า ครูโรงเรียนอินเตอร์ช่วยเขียนบทความเรื่องดีๆของประเทศไทยให้ต่างประเทศอ่าน ภาพประเทศไทยดี ศิษย์เก่าก็ช่วยเป็นฑูตให้ประเทศนี้ด้วย

หก เมื่อนักเรียนต่างประเทศกลับไปประเทศของเขา จำนวนมากขื้นบริหาร กลับมาประเทศไทย กิจการการลงทุนขยายตัว ลูกศิษย์ของผมคนหนื่ง ญี่ปุ่น ตอนนี้มาเป็น ceo ของมิตซู เมืองไทยแล้ว ศิษย์เก่าโรงเรียนอินเตอร์ที่ดังๆตั้งบริษัท Minor ชื่อเล่นว่า Mint สร้างเครือข่ายโรงแรมไทย ร้านอาหารไทยไปทั้วโลก หวังว่าจะมีนักเรียนอินเตอร์ช่วยนำเศรษฐกิจจังหวัดต่างๆบ้าง สรุป คือ ศิษย์เก่าช่วยสร้างการลงทุนให้ประเทศไทย

เจ็ด เมื่อเกิดโรงเรียนอินเตอร์ที่มีนักเรียนไทยตอนนี้สองหมื่นห้า มหาวิทยาลัยจืงต้องเปิดหลักสูตรอินเตอร์หาเงิน มีโครงการdouble degree ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศเพิ่มขื้นเรื่อยๆ มีนักเรียนอินเตอร์มาก ต่างชาติก็ถูกดูดมาเรียนมากขื้นเรื่อยๆ นี่คือการเปลี่ยนมหาวิทยาลัยไทยครั้งสำคัญ

แปด แทนที่ชาวต่างประเทศและคนไทยจะส่งเงินออกนอก เงินเหล่านี้หมุนเวียนในเมืองไทย สิบปีก็เยอะนะครับ

ที่สำคัญ เก้า ผมหวังว่าโรงเรียนอินเตอร์จะช่วยเปลี่ยนระบบการศืกษาของไทย มีตัวอย่างอยูโทนโท่ เชิญเขามาเล่าให้ฟังจะได้เข้าใจ ไม่ใช่อ่านตำรามาทำ มาโชว์ โดยไม่เข้าใจปรัชญาการศึกษาจริงๆจังๆจนทำให้เด็กไทยเดือดร้อน ทั้งประเทศ

สิบ ผมหวังว่าโรงเรียนของไทยจะไปจับมือเป็นพันธมิตรกับโรงเรียนอินเตอร์ นำเด็กไทยไปเชื่อมต่อกับโลกสากลบ้าง ที่สวนกุหลาบจับมือกับ Raffles ที่สิงคโปร์
โรงเรียนไทยจะได้ก้าวหน้า รมต ศึกษาต้องไปดู ให้กำลังใจ ธนาคารพร้อมหนุนอยู่แล้ว

READ  เตรียมค่าใช้จ่ายเมื่อลูกป่วย

สิบเอ็ด ผมหวังว่าภาษาของเด็กไทยจะดีขื้น ที่บรูไนจ้างครูนิวซีแลนด์มาสอนอังกฤษปีละสี่หมื่นคน ของไทยดูแลครูต่างชาติโรงเรียนต่างๆให้ดี โรงเรียนไทยก็มีครูต่างประเทศสี่ห้าคนต่อโรงเรียน โรงเรียนอินเตอร์จึงเป็น agent of change

ในอนาคต เมื่อโรงเรียนขยายตัว หวังว่าค่าเทอมจะลดลงบ้าง ครอบครัวที่รายได้ไม่สูงได้เข้าเรียนบ้าง มหาวิทยาลัยที่เปิดหลักสูตรอินเตอร์ก็เหมือนกัน คิดราคาเกินต้นทุนมาก กระทรวงศึกษาควรลองคิดโมเดลไฟแนนซ์ ผสมกับความร่วมมือระหว่างประเทศให้เด็กไทยเข้าเรียนได้ในราคาหนึ่งแสน สองแสนต่อปี เป็นอีกระบบหนื่ง เอาครูอินเดีย สถาบันของอินเดียเข้ามาเชื่อม นักเรียนอินเดียสอบเคมบริดจ์ได้ปีละมหาศาล ป ตรีอินเดียยกรุ่นเข้า MIT ไปเป็นผู้บริหารซิลิคอน แวลเล่ย์กันมาก หาทางต่อเชื่อมการศึกษากับอินเดีย ได้งาน ได้ธุรกิจ ได้พัฒนาวิทยาศาสตร์ด้วย มั่นใจในศักยภาพของเด็กไทย

ปัญหาของเมืองไทยปัจจุบันนี้คือ มีเงินลงทุนด้านการศึกษาต่อหัวอันดับสองของโลก แต่ไปไม่ถึงไหน เพราะไปไม่เป็นนี่แหละ กระทรวงศึกษาไทย เอาโรงเรียนอินเตอร์เป็นพลังปฏิรูปการศืกษาไทยได้เลยครับ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจากบทความ fanpage อาจารย์สมเกียรติ โอสถสภา

https://www.facebook.com/somkiat.osotsapa